บริจาค

ปัญหาทุพโภชนาการ

เด็กกว่า 2.9 ล้านคน
ในประเทศไทย

หรือคิดเป็น 1 ใน 3
ของเด็กอายุ 6-14 ปี

มีภาวะทุพโภชนาการ

(กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์
กระทรวงสาธารณสุข 2563)

โดยเฉพาะเด็กในชนบทมีโอกาสขาดสารอาหารมากกว่าเด็กในเมือง (กรมอนามัย, 2558)
ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ (ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2557)
ปิดกั้นอนาคตที่สดใสอย่างที่พวกเขาสมควรได้รับ

1 ใน 10 ของเด็กปฐมวัยไทย

มีภาวะเตี้ยหรืออ้วน

และเมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่วัยเรียนอายุ 6 – 14 ปี มีแนวโน้มพบภาวะเตี้ยร้อยละ 8.3
ผอมร้อยละ 4.3 และภาวะอ้วนร้อยละ 13.1 (กรมอนามัย 2562)
ซึ่งภาวะเตี้ยและผอมส่งผลให้เรียนรู้ช้า สติปัญญาต่ำ ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ
เจ็บป่วยง่าย หายยาก มีอาการรุนแรง และยังเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคติดต่อเรื้อรังได้ในอนาคต
(ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2557)

ปัจจุบันเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษา
ได้รับงบประมาณค่าอาหารกลางวัน 22-36 บาทต่อคน

แต่…ทำไมโรงเรียนอีกจำนวนมากในหลายพื้นที่
ยังต้องเผชิญกับปัญหาซ้ำซ้อน

งบประมาณจำกัด และไม่ทั่วถึง

งบประมาณอาหารกลางวันสนับสนุนเด็กนักเรียน
ระดับอนุบาลและประถมศึกษา
ไม่ครอบคลุมนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ทำให้โรงเรียนประเภทขยายโอกาสทางการศึกษา
ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล พยายามจัดสรร
ให้เด็กนักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหาร
ทำให้งบประมาณค่าอาหารรายหัว
ตกอยู่ราวๆ 9-15 บาทต่อคน
งบประมาณค่าขนส่งสูง

เนื่องจากพื้นที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
ดอยสูง ทุรกันดาร ทำให้เกิดงบประมาณ
ค่าขนส่งวัตถุดิบอาหารที่เพิ่มขึ้น
ปัญหาการจัดเก็บวัตถุดิบ
ให้สดใหม่ตลอดอาทิตย์

หลายโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
ยังประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงไฟฟ้า
ทำให้การจัดเก็บวัตถุดิบอาหารสด
ทำได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ
ปัญหาการขาดความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน

ขาดองค์ความรู้และทักษะด้านการจัดการงาน
อาหาร โภชนาการ และการดูแลสุขภาพ
นักเรียนที่ถูกต้องเหมาะสม
งบประมาณจำกัด ยิ่งโรงเรียนเล็ก
ต้นทุนคงที่ในการประกอบอาหารยิ่งสูง

สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียน
ต่ำกว่า 120 คน ค่าต้นทุน เช่น ค่าวัตถุดิบ เครื่องปรุง ค่าแก๊ส ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าแม่ครัว เมื่อนำมาคำนวนต่องบรายหัวที่ได้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายของต้นทุนที่สูง และหากโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จะมีค่าการจัดการเรื่องการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย